วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การซ่อมแบตเตอร์รี่รถยนต์

แบตเสียอย่าทิ้ง สามารถนำมาซ่อมและใช้ใหม่ได้อีกยาว.....


 ส่วนมาก แบตเตอรี่ที่มีปัญหาคือจะชาร์จไฟไม่เข้า การเก็บประจุไฟฟ้ามีปัญหา เก็บได้ไม่นาน 
สาเหตุที่เสียส่วนมากคือ 
เวลาใช้ไปนาน ๆ หรือไม่ค่อยได้ใช้  กรดเกลือซัลเฟตมันจะกลายส­­ภาพเป็นฉนวนในแผ่นธาตุตะกั่วขั­ด­ขวางการชาร์จเข้าทำให้แบตค่อย­ๆส­ิ้นสภาพและตายไปในที่สุด

การเลือก แบตเตอรี่ ก่อนที่จะนำมาซ่อม

1. แผ่นธาตุต้องไม่กรอบ เขย่าแล้วไม่ดังก๊อกแกีก
2.วัดแรงดันไฟต้องไม่ต่ำกว่า 5 โวลท์ ถ้าไม่มีโวลท์ แสดงว่าขั้วภายในอาจขาด
3. ช่องภายในต้องไม่ทะลุถึงกัน ดูได้จากเวลาเติมน้ำกลั่นช่องใดแล้ว ช่องข้าง ๆ น้ำขึ้นด้วย ถ้าแผ่นกั้นทะลุ เรียกว่า ชอร์ตตูด ใช้ไม่ได้

ก่อนซ่อมเราทารู้จักกับ แบตเตอรี่ กันก่อน


 

แบตเตอรี่มีส่วนประกอบดังนี้คือ เปลือกนอก ซึ่งทำด้วยพลาสติกหรือยางแข็ง ฝาครอบส่วนบนของแบตเตอรี่ ขั้วของแบตเตอรี่ สะพานไฟ แผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ แผ่นกั้นซึ่งทำจากไฟเบอร์กลาส ที่เจาะรูพรุน ในปัจจุบันแบตเตอรี่รถยนต์จะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่ต้องคอยตรวจดูระดับนํ้ากรดในแบตเตอรี่ กับแบบที่ไม่ต้องตรวจดูระดับนํ้ากรดเลยตลอดอายุการใช้งาน(แบบที่ซ่อมได้คือ แบบแรก หรือเรียกว่าแบตน้ำ)


แผ่นธาตุ (plates) ในแบตเตอรี่มี 2 ชนิดคือ แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ แผ่นธาตุบวกทำจากตะกั่วเปอร์ออกไซด์ (PbO2) และแผ่นธาตุลบทำจากตะกั่วธรรมดา (Pb) วางเรียงสลับซ้อนกันระหว่างแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบจนเต็มพอดี ในแต่ละเซลล์ แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบจะถูกกั้นไม่ให้แตะกันด้วยแผ่นกั้น


 นํ้ากรดหรือนํ้ายาอิเล็กโตรไลต์ (electrolyte)

นํ้ากรดในแบตเตอรี่รถยนต์เป็นนํ้ากรดกำมะถันเจือจางคือจะมีกรดกำมะถัน (H2SP4) ประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์ ถ.พ.หรือความถ่วงจำเพาะของนํ้ากรด*** 1.260 ถึง 1.280 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส น้ำกรดในแบตเตอรี่เป็นตัวที่ทำให้แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบเกิดปฏิกิริยาทาง เคมีจนเกิดกระแสไฟฟ้าและแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้นมาได้

 เซลล์

เซลล์ (cells) คือช่องที่บรรจุแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ แผ่นกั้น และน้ำกรด ***ในช่องหนึ่งจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 2.1 โวลต์ ซึ่งแบตเตอรี่ 6 โวลต์ ก็จะมีเซลล์ 3 เซลล์ แบตเตอรี่ 12 โวลต์ก็จะมีเซลล์ 6 เซลล์ และในแต่ละเซลล์ก็จะมีส่วนบนเป็นที่เติมนํ้ากรดและมีฝาปิดป้องกันนํ้า กรดกระเด็นออกมา และที่ฝาปิดก็จะมีรูระบายก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีให้สามารถ ระบายออกไปได้






อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.น้ำร้อน

2.น้ำยาล้างห้องน้ำที่มีส่วนผสมกลดเกลือ 15-20%

3.ถุงมือยางซักผ้า

4.ผ้าปิดจมูก

5.แว่นตา

6.กะลามังพลาสติก 2ใบ


ขั้นตอนการทำ


1.เทน้ำกรดออกให้หมด ใส่กะละมัง ในน้ำกรดจะมีฝุ่นตะกั่ว จะต้องทิ้งให้ตกตะกอน (ตะกั่วจะทิ้งตามพื้นดินไม่ได้ จะเกิดอันตราย)
2. เทน้ำเดือด ๆ ทุกช่องจนท่วมแผ่นธาตุที่อยู่ข้างใน
3. ปิดจุก เขย่าเบาๆ ด้านหน้าและหลัง(แนวยาวของแบต) เพื่อล้างน้ำกรดเก่าออก
4. คว่ำเขย่าเบาๆทุกด้าน เพื่อเทน้ำออกจากแบตได้มากที่สุด จะเห็นสิ่งสกปรกออกมากับน้ำเป็นสีดำ
5. เติมน้ำร้อนเดือด ๆ ทุกช่องจนท่วมแผ่นธาตุ ให้พอเติมน้ำยาล้างห้องน้ำได้ 1ฝา
6.เติมน้ำยาล้างห้องน้ำ 1 ฝา ต่อ 1 ช่อง
7.ปิดฝา เขย่าเบาๆด้านหน้าและหลัง ให้น้ำยาผสมกับน้ำร้อน ทิ้งไว้ 45 นาที เพื่อให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับคราบสกปรกที่ติดอยู่ตามแผ่นธาตุ
8. เทน้ำยาล้างห้องน้ำที่ขั้วแบตทั้ง 2 ข้าง แล้วเอาน้ำเดือดล้างออก
9. เมื่อครบ 45 นาที่  เขย่าเบาๆด้านหน้าและหลัง คว่ำแบตลงเพื่อเทน้ำทิ้ง ลงในกะละมัง  เขย่าตลอดเวลาที่เท น้ำที่ออกมาจะมีสีดำ *จะมีกลิ่นฉุนและมีตะกอนออกมาให้ตะกอนและคราบออก*
10.เทน้ำเดือด ๆ ทุกช่องจนท่วมแผ่นธาตุที่อยู่ข้างในปิดจุก เขย่าเบาๆ ด้านหน้าและหลัง(แนวยาวของแบต) เพื่อล้างน้ำยาล้างห้องน้ำออก อย่างน้อย 4-5 ครั้ง หรือจนกว่าน้ำจะสะอาด

*จะสังเกตุว่าหลังจากการล้าง ส่วนที่เป็นแผ่นเซลจะใสสะอาดขึ้น เป็นอันใช้ใด้ ถ้าดูแล้วยังไม่สะอาด ก็แสดงว่า ใช้น้ำยาล้างห้องน้ำยี่ห้อที่เจือจางไป ต้องให้ได้ 15-20% นะครับเดี๋ยวจะเสียเวลา (ไอ้ม่วงๆน่ะ)

ขั้นตอนสุดท่าย น้ำน้ำสะอาด เช่นน้ำดึ่ม ดีที่สุดคือน้ำกลั่น  ใส่ทุกช่องจนท่วมล้นออกมา ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วเทออกให้หมด จากนั้นนำแบตไปคว่ำตากแดด **อย่างน้อย 7 วันจนกว่าจะแห้งสนิดจริงๆ

 


เทคนิคและข้อควรระวัง

1.อย่าเขย่าแรงจนเกินไป ให้พอดีๆ ไม่เบาไปไม่หนักไป เขย่าสลับกัน แถบหน้าครั้งละ 10 แถบหลังครั้งละ 10(อย่างน้อยแถบละ 40-50 ครั้งต่อการล้าง 1 ครั้ง) และต้องเขย่า ทางด้านหน้าและหลัง(แนวยาวของแบต)ไม่เช่นนั้นเซลจะล้มและทำให้แบ็ตเสียได้
2.ในช่วงการล้างน้ำยาล้างห้องน้ำแต่ละครั้ง อย่ารีบ ให้พักในช่วง ที่เติมน้ำร้อนซัก 5-10 นาที และช่วงที่เทน้ำทิ้งคว่ำทิ้งไว้ซัก 5-10 นาที เพราะน้ำที้ขังอยู่บริเวณใยแก้ว จะซึมช้ามาก
3.ต้องล้างน้ำยาล้างห้องน้ำให้หมดจริงๆ ให้สังเกตุกลิ่น


เทคนิคการทำแลลไม่ต้องรอถึง 7 วัน


*นํ้ากรดในแบตเตอรี่รถยนต์เป็นนํ้ากรดกำมะถันเจือจางคือจะมีกรดกำมะถัน (H2SP4) ประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์ ถ.พ.หรือความถ่วงจำเพาะของนํ้ากรด*** 1.260 ถึง 1.280*
*น้ำ 1 ลิตร หนัก 1 กิโลกรัม*
*น้ำกรด 1.25-1.3 ลิตร หนัก 1 กิโลกรัม *
*เพราะฉะนั้น  นํ้ากรดในแบตเตอรี่รถยนต์ มีความถ่วงจำเพาะหรือความเข้มข้น* 1.260 ถึง 1.280*ก็แสดงว่า *น้ำกรด 1.25-1.3 ลิตร หนัก 1 กิโลกรัม *
ถ้า *1.25-1.3 ขีด ก็ต้องมีปริมาตร 100 ซีๆ *
นี่คือค่าที่ดีที่สุดของความเข้มข้นน้ำกรดในแบ็ตเตอรี่รถยนต์
เราต้องทำให้มีค่าเท่านี้ ในกรณีที่ไม่ต้องการรอนาน เพราะน้ำที่ยังไม่แห้ง ทีติดตามใยแก้ว และส่วนต่างๆขณะล้าง จะทำให้กรด เจือจางได้ และช๊าตไม่เข้า

***อุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่มคือ กรดเกลือ 98% / กิโลแบบละเอียด***


ขั้นตอนการทำ

1.นำน้ำกรดสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป มาเติมแบตเตอรี ให้มากกว่าขีดที่กำหนด(เกือบล้น)ทิ้งไว้ 30 นาที
2.เทใส่กะลามังพลาสติก(ทุกขั้นตอนต้องสะอาดที่สุด)แล้วชั่ง ตามปริมาณ 

**คือเอาน้ำกรดมา 100 ซีซี ต้องช่างได้ 1.25-1.3 ขีด**
ถ้าเบาไปให้ใช้กรดเกลือ เติมลงไปทีละนิดๆ และค่อยๆคนเบาๆให้ทั่ว ระวังอย่าให้ร้อนมาก *ต้องเติมทีละน้อยๆ* ทำจนกว่าจะได้ค่ามารถฐาน คือ น้ำกรดมา 100 ซีซี ต้องช่างได้ 1.25-1.3 ขีด
3.เมื่อได้แล้ว ก็เทใส่ แบตเตอรี และทิ้งไว่ ทิ้งไว้ 30 นาที และ เทใส่กะลามังพลาสติก เพื่อมาวัดความเข้มเหมือนเดิม 
4.ทำซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าค่าจะได้ค่าคงตัวของ ความถ่วงจำเพาะของนํ้ากรดในแบตเตอรี่รถยนต์*** 1.5-1.3***โดยประมาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลง

 

 

 ---ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมประสปการณ์ของข้าเจ้าซึ่งได้จาก อาจารณ์และผู้ใจบุญทุกท่าน หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อหลายๆท่าน---

 











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น